Blog Archives

รถไฟสายตลิ่งชัน-ศิริราช: ทางรถไฟสาย(ข้อต่อ)สุขภาพ

รถไฟสายตลิ่งชัน-ศิริราช: ทางรถไฟสาย(ข้อต่อ)สุขภาพ

               สืบเนื่องจากเรื่อง  ที่จอดรถศิริราช”  เป็นเหตุให้ได้สืบค้นข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอ  ประเด็นที่สนใจคือ  จำนวนคนที่เข้ามาแออัดยัดเยียด ณ ย่านศิริราช  นั้น  ที่แท้  เป็นเท่าใด

               ย่านศิริราช”  เป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมหลักคือ  การรักษาพยาบาล  เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล  ๒  แห่ง  คือ  โรงพยาบาลศิริราช  และโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์  แห่งแรกเป็นโรงพยาบาลดั้งเดิมของรัฐ  มีสถานะเป็นราชการหรือของหลวงจึงเรียกชื่อเล่นได้ว่า “ศิริราชหลวง”  มีอาคาร  ๕๙  หลัง  บนเนื้อที่  ๑๑๐  ไร่ บรรจุเตียงผู้ป่วย  ๒,๒๒๑  เตียง  แพทย์  ๘๕๑  คน  พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล  ๕,๐๖๓  คน  บุคลากร+เจ้าหน้าที่อื่นๆ  อีก  ๗,๕๔๗  คน  รองรับผู้ป่วยประมาณปีละ  ๒.๘  ล้านคนต่อปี Read the rest of this entry

ศิริราชต้องปรับการจราจร

ศิริราชต้องปรับการจราจร

 siriraj1

               ความเจ็บไข้ได้ป่วยไม่เข้าใครออกใคร เจ็บป่วยแต่ละทีไม่พ้นต้องพึ่งหมอพึ่งพยาบาล ไปโรงพยาบาลกันให้ควั๊ก นั่งรอคิวเรียกชื่อ คิวตรวจ คิวเสียตังค์ คิวรับยา ทุกกิจกรมเต็มไปด้วยคิว ไปโรงพยาบาลแต่ละทีก็ได้รับ ไฮคิว” กันตาม ๆ  กันไป เสียเวลามาก   สำหรับผู้ป่วยรายได้น้อยก็อาศัยโรงพยาบาลของรัฐ ส่วนผู้มีเงินหนาจำพวก    “ไฮโซ” ก็จะมุ่งหน้ามาโรงพยาบาลเอกชนจะได้รับความสะดวกสบายระดับ “โลว์คิว” ไม่ต้องรอคอยเข้าคิวนานเหมือนโรงพยาบาลของหลวง

               โรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลของรัฐที่เป็นที่มีการเรียนการสอนวิชาแพทย์ ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษาโรคต่าง ๆได้ดีราวกับเป็นหมอเทวดา คนไข้ยอมรับในฝีมือการรักษาของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลแห่งนี้ ผลที่ตามมาก็คือ ปริมาณคนไข้ที่เพิ่มขึ้นมากมาก ทั้งไฮโซ โลว์โซ ต่างก็อยากมาหาหมอเทวดาช่วยรักษาชีวิตและสุขภาพของตนไว้ เพราะไม่ว่ายากดีมีจนอย่างไรมนุษย์เดินดินทั้งหลายต่างก็รักชีวิต รักตัวกลัวตายด้วยกันทั้งนั้น

               การมาพบแพทย์ของแต่ละคนน้อยนักที่จะเดินทางมาคนเดียว เพราะมีคำว่า      ” ผู้ป่วย “ติดตัว  จึงต้องมีผู้ติดตามที่มักจะเป็นญาติพาผู้ป่วยมาโรงพยาบาล อย่างน้อยก็ 1 คน จำนวนคนจึงล้นโรงพยาบาล  คนจำนวนมากนี้มักจะเดินทางมาโรงพยาบาลโดยทางรถยนต์ส่วนตัวบ้าง รถสาธารณะบ้าง  ปัญหาจราจรติดขัดโดยรอบบริเวณโรงพยาบาลจึงตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   ลองเรียกรถแท็กชี่ตอนเช้าหรือเย็นจากที่ใดก็ได้แล้วถามดูว่า “ไปศิริราชมั้ย” คำตอบที่ได้จะสะท้อนถึงสภาพจราจรบริเวณนี้เป็นอย่างดี

               การเดินทางเดินทางของผู้ป่วยทางรถยนต์ ผู้พาผู้ป่วยมักจะนำรถมาจอดส่งคนไข้บริเวณทางลาดขึ้น-ลงตึกผู้ป่วยนอก เมื่อส่งผู้ป่วยแล้วะนำรถลงทางลาดเลี้ยวออกประตูโรงพยาบาลด้านใกล้แยกศิริราชเพื่อเลี้ยวซ้ายเข้าโรงพยาบาลอีกรอบด้านประตูตึกอุบัติเหตุ เพื่อทะลุไปหลังโรงพยาบาลหรือเลี้ยวซ้ายขึ้นอาคารจอดรถ หาที่จอดรถ หากเดินสำรวจพื้นที่บริเวณดังกล่าวจะพบว่าหากโรงพยาบาลสามารถให้รถที่จอดส่งคนไข้ที่ตึกผู้ป่วยนอกเลี้ยวทะลุผ่านอาคารจอดรถโดยไม่ต้องออกไปผ่านแยกศิริราช โดยอาจนำรถไปจอดในอาคารจอดรถได้เลยหรือไม่ก็เลาะใต้อาคารจอดรถแล้วเลี้ยวซ้ายผ่านตึกอุบัติเหตุก็จะสามารถนำรถไปจอดด้วนหลังโรงพยาบาลได้โดยไม่ต้องนำรถไปติดสัญญานไฟที่แยกศิริราช จะช่วยแก้ปํญหาจราจรติดขัดที่แยกนี้ได้มาก

               โรงพยาบาลอาจต้องลงทุนทำทางจากตึกผู้ป่วยนอกเชื่อมกับอาคารจอดรถ แต่ทั้งนี้เรื่องเงินคงไม่เป็นปัญหากับโรงพยาบาลมากนักเพราะได้ขึ้นค่าใช้บริการของผู้ป่วยอยู่แล้ว เงินที่มีอยู่ก็เห็นใช้ปรับปรุงอาคารแต่ละอาคารได้อย่างสวยงามดูทันสมัยไม่น่ากลัวเหมือนโรงพยาบาลยุคเก่า ถ้าจะเจียดเงินส่วนนี้หรือส่วนไหนก็ตามแต่(ที่อาจจะมาจากการรับบริจาคก็ได้) มาปรับปรุงระบบจราจรภายในโรงพยาบาลก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการและช่วยไม่ให้มีผู้ต้องทนทุกข์กับปัญหารถติดรอบโรงพยาบาล ถ้าปรับการจราจรโดยให้รถเดินทางเดียวจากแยกตึก 84 ปี มายังตึกสลากเพื่อออกประตูด้านถนนอรุณอมรินทร์ (ประตู 4 )หรือจะเลี้ยวซ้ายขึ้นไปรับ-ส่งผู้ป่วยบนทางลาดตึกผู้ป่วยนอกอีกด้วยแล้ว การจราจรก็จะยิ่งน่าลื่นไหลได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ที่ประตูลงทางลาดตึกผู้ป่วยนอกก็ให้ตำรวจหรือสำนักการจราจรมาติดสัญญานไฟจราจรไว้แบบที่สยามพารากอนทำไว้เป็นตัวอย่าง เปิดสัญญานไฟเขียวให้รถเลี้ยวขวาขึ้นสะพานอรุณอมรินทร์ได้ เท่านี้รถก็จะไม่ไปอออ้อมขึ้นสะพานด้านหลังโรงพยาบาลแล้ว

               ที่บอกมาทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์ผู้อื่นทั้งนั้น และไม่เกี่ยวกับงานทางการแพทย์ แต่ข้องแวะกับประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์   ท่านผู้บริหารโรงพยาบาลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีอำนาจบริหารจัดการ ไม่ทราบว่ายังจำคำที่ว่า

ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

ได้อยู่หรือไม่

siriraj2

               เป็นเสียงน้อย ๆ จากคน ศิริราช ที่ไม่ใช่บุคลากร ศิริราช แนะมาครับ