สวิทช์ความร้อน(Thermo Switch)


 สวิทช์ความร้อน (thermo switch)

thermos1

               สวิทช์ความร้อน  เป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิเครื่องยนต์  รถยนต์ที่เครื่องยนต์ร้อนจนเกินสภาพการใช้งานปกติหรือที่ช่าง+ชาวบ้านเรียกว่า  “เครื่องฮีต” หรือความร้อนขึ้นสูงมักเกิดจากการควบคุมอุณหภูมิน้ำของระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์ที่ผิดเพี้ยนหรือเสียหาย  เครื่องยนต์ในรถยนต์ไม่ได้มีระบบการถ่ายเทความร้อนออกจากเครื่องยนต์ขณะทำงานได้ด้วยตนเอง  ต้องอาศัยอุปกรณ์ภายนอกที่อยู่ภายในห้องเครื่องยนต์ช่วย  อุปกรณ์นั้นคือ  “หม้อน้ำ”  และ “พัดลมระบายความร้อน” ออกจากหม้อน้ำ 

               ภายในตัวเครื่องยนต์จะถูกออกแบบให้มีท่อน้ำระบายความร้อนเดินทั่วไปทั้งบริเวณตัว เสื้อสูบ” และ “ฝาสูบ” และโดยมี  “ช่องน้ำเข้า”  และ “ช่องน้ำออก”  เพื่อต่อเข้ากับหม้อน้ำ  การไหลเวียนของระบบน้ำในเครื่องยนต์เกิดขึ้นจากการหมุนของ “ปั๊มน้ำ”ที่เป็นส่วนหนึ่งที่ติดกับเครื่องยนต์ทุกเครื่อง  เมื่อเครื่องยนต์หมุนนั่นหมายถึงการหมุนของ  “เพลาข้อเหวียง” หรือรู้จักกันในชื่อ “เพลาเครื่อง”  สายพานที่ต่อจาก  “เพลาเครื่อง”นี้เพื่อมาหมุนแกนใบพัดของปั๊มน้ำปั่นน้ำให้ไหลวนออกจากตัวเครื่องทาง  “ช่องน้ำออก”(หรือที่มักเรียกกันว่า  “คอน้ำ”)  ที่คอน้ำนี้จะมีท่อยางต่อเข้ากับหม้อน้ำด้านบน  ที่ปลายล่างของอีกด้านของหม้อน้ำจะมีช่องสำหรับต่อท่อยางจากหม้อน้ำเข้าเครื่องยนต์ที่  “ช่องน้ำเข้า”  น้ำจะไหลวนจากตัวเครื่องยนต์สู่หม้อน้ำเพื่อถ่ายเทความร้อนออกจากน้ำจากนั้นจึงไหลเข้าเครื่องยนต์ต่อไป  หม้อน้ำจะทำหน้าที่ระบายความร้อนให้กับน้ำในระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์หรือทำให้เครื่องยนต์ไม่เกิดอาการ  “ฮีต” 

               แต่ลำพังแค่หม้อน้ำอย่างเดียวไม่อาจระบายความร้อนให้น้ำที่ไหลออกจากเครื่องยนต์ได้  สภาพของหม้อน้ำที่ภายในเป็นช่องน้ำไหลหลายช่อง  ภายนอกมีครีบเป็นรังผึ้งระบายความร้อนคล้าย  คอนเดนเซอร์”เครื่องปรับอากาศ  ความร้อนของน้ำที่ไหลออกจากเครื่องยนต์จะไหลผ่านช่องน้ำไหลเพื่อให้ลมพัดพาความร้อนไป  ลมที่พัดผ่านหม้อน้ำและพาความร้อนออกจากน้ำเป็นการระบายความร้อนให้เครื่องยนต์นั้นเกิดได้สองกรณีคือ 

               (๑) ลมธรรมชาติ  จากการแล่นของรถจะมีลมมาปะทะแผงรังผึ้งหม้อน้ำ   ดังนั้นหากแล่นด้วยความเร็วอย่างต่อเนื่องและเครื่องยนต์ไม่ร้อนแสดงถึงระบบการไหลเวียนน้ำหล่อเย็นสมบูรณ์หาก “ไม่”  แสดงว่าการไหลไม่สมบูรณ์อันอาจเกิดจาก  (๑.๑)  ช่องน้ำไหลในหม้อน้ำตัน  หรือ  (๑.๒) ปั๊มน้ำเสื่อมหรือเสียอาจจะฝืดจนใบพัดไม่หมุน หรืออาจเพราะใบพัดสึกกร่อนปั่นน้ำไม่ไหล หรือสายพานปั๊มน้ำหย่อนหรือขาด

               (๒) ลมจากพัดลมไฟฟ้าที่ติดอยู่กับหม้อน้ำ  พัดลมไฟฟ้านี้จะหมุนเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงถึงกำหนดที่เครื่องยนต์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และเมื่ออุณหภูมิของน้ำลดลงพัดลมไฟฟ้านี้จะหยุดทำงาน  จะเห็นว่าการทำงานของพัดลมเป็นไปตามอุณหภูมิของน้ำในระบบหล่อเย็นจึงต้องมีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนของระบบน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์  สวิทช์ความร้อน” (thermo switch) คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดังกล่าว   การเปิดปิดพัดลมหม้อน้ำนี้เป็นหน้าที่ของ สวิทช์ความร้อนที่มักติดอยู่กับเครื่องยนต์บริเวณใกล้วาล์วน้ำหรือปั๊มน้ำหรือช่องน้ำออก  หรือในรถยนต์บางรุ่นจะยึดติดอยู่กับหม้อน้ำบริเวณใกล้ช่องน้ำเข้าหม้อน้ำ(หลังช่องน้ำออกจากเครื่องยนต์)    ความร้อนจากน้ำในระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์จะถูกส่งมาที่  “สวิทช์ความร้อน”  เมื่ออุณหภูมิของน้ำถึงกำหนดที่สวิทช์ความร้อนทำงาน  สวิทช์จึงทำหน้าที่  เปิด  หรือปิดวงจรควบคุมไฟฟ้าพัดลมหม้อน้ำ   การเดินเครื่องยนต์แต่ไม่มีการเคลื่อนที่ของรถแล้วเครื่องเกิดอาการ  “ฮีต”  ขึ้นมา  หากขับรถทางไกลแล้วเครื่องไม่ร้อนตามข้อ (๑)  แล้ว  ให้สันนิษฐานว่าการระบายความร้อนออกจากหม้อน้ำไม่ดีหรือพัดลมไฟฟ้าไม่ทำงาน  ซึ่งอาจเป็นเพราะ (๒.๑)  พัดลมเสีย  (๒.๒)  ฟิวส์ระบบไฟควมคุมพัดลมขาด  (๒.๓)  รีเลย์ระบบไฟควบคุมพัดลมเสีย  และบ่อยครั้งพบว่าเป็นเพราะ  (๒.๔)  สวิทช์ความร้อน (Thermo switch)  เสีย ต้องเปลี่ยนอะไหล่

               ความร้อนในเครื่องยนต์ที่สูงเกินหรือการฮีตของเครื่องยนต์นำมาซึ่งความเสียหายอย่างหนักของเครื่องอาจถึงขั้น  ฝาสูบโก่งอันเป็นเหตุให้ระบบการไหลของน้ำหล่อเย็นในเครื่องไหลลามเข้ากระบอกสูบจนน้ำผสมกับน้ำมันเครื่องได้  ซึ่งจัดว่าเป็นความเสียหายอย่างหนัก  ดังนั้นหากพบว่าเครื่องยนต์ร้อนผิดปกติจึงควรพิจารณาหาสาเหตุอย่างรอบคอบ  หากพบว่า  สวิทช์ความร้อน ส่ื่อมหรือเสีย  ควรรีบหาอะไหล่เปลี่ยนเสีย 

               การเปลี่ยนสวิทช์ความร้อนอาจไม่จำเป็นต้องใช้อะไหล่แท้ในการเปลี่ยนทั้งนี่เพราะอะไหล่รถยนต์บางชิ้นนั้นไม่ได้ผลิตจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์แต่เกิดจากการว่าจ้างผู้ผลิตรายอื่นที่มีความชำนาญในการผลิตอะไหล่หรืออุปกรณ์รถยนต์ชิ้นนั้น ๆ ผลิตชิ้นส่วนใส่รถยนต์หรือเครื่องยนต์ของตนเอง  เรียกผู้ผลิตรายอื่นนี้ว่า  Original Equipment Manufacturer , OEM   TAMA  เป็นเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต  สวิทช์ความร้อน (OEM)  ให้เครื่องยนต์หลายค่าย  เช่น  Honda Mazda Mitsubishi Nissan Toyota ฯลฯ  การเลือกอะไหล่ TAMA  ใช้สำหรับซ่อมระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์จึงได้คุณภาพเทียบเท่ากับอะไหล่แท้ของบริษัทรถยนต์ค่ายนั้น ๆเองแต่ในราคาที่ถูกกว่า  สวิทช์ความร้อน  OEM  TAMA ของรถยนต์ยี่ห้อต่าง ๆ  มีดังนี้(รายละเอียดข้อมูลด้านเทคนิคของสวิทช์ความร้อนรุ่นต่าง ๆ  อธิบายไว้ด้านท้าย)

 Honda

1ls301h1ls302h 1ts11-1h 1ts11-2h   Mazda   2ls202-1m 2ls201-2m2ls202-1m2 2ls204m 2ls205-1m 2ls205-2m2ls206m2ts311m Mitsubishi   3bs802-1mi 3bs802-2mi 3bs802-3mi 3ls404-1mi 3ls404-2mi Nissan 4bs103 4bs106 4bs109 4bs110 4bs111 4bs114 4bs115 4bs116 4bs117 4bs118   Toyota bs601tbs602t bs603t ls103-1t ls103-2tls104-1tls104-2tls112-1tls112-2t

               อธิบายรหัสและแต่ละแถว(คอลัมภ์)ของตารางดังนี้ ตัวอย่าง

เช่น  ls112, 90°C-OFF, M16×1.5, HEX19 ของ toyata

ls112           หมายถึงชื่อรหัสรุ่นของสินค้ส TAMA

90°C-OFF    หมายถึงที่อุณหภูมิน้ำหล่อเบ็นเท่ากับ90องศาเซลเซียสสวิทช์ความร้อนจะตัดวงจรไฟ

M16×1.5      หมายถึงขนาดเกลียวเมตริกเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร ระยะห่างระหว่างร่องเกลียว 1.5 มิลลิเมตร

HEX19         หมายถึงขนาดหัวเกลียวหกเหลี่ยม. 19  มิลลิเมตร

               ข้อมูลในตารางระบุสำหรับรถยนต์  

แถวแรก         บอกชื่อรุ่น เช่น celica

แถวสอง         บอกรหัสตัวถัง เช่น ST205  

แถวสาม         บอกรหัสเครื่องยนต์  เช่น  3S-GTE  

แถวสี่และห้า   บอกปีและสัปดาห์ผลิตเลขสองหลักแรกเป็นปีคริสตศักราช สองหลักหลังเป็นสัปดาห์ที่ผลิต  คือ 9309-9908

แถวหก            บอกรหัส(Part Number) อะไหล่ของรถยนต์รุ่นน้ันๆที่อะไหล่OEM ผลิตให้ คือ รหัส 89428-33010

หมายเหตุ :  ส่วนใหญ่สวิทช์ความร้อนมักจะต่อ (ON) วงจรไฟฟ้าเมื่ออุณหภูมิถึงที่กำหนด  แต่มีบางค่ายรถ  เช่น  Toyota  และบางรุ่นของรถ mazdaที่ใช้สวิทช์ความร้อนที่ตัด(OFF)  วงจรไฟฟ้าเมื่ออุณหภูมิน้ำร้อนถึงจุดกำหนด 

               รู้ข้อมูลกันไว้บ้างเผื่อซ่อม  เผื่อแปลงระบบระบายความร้อน  จะได้ทำกันได้หรือหากต้องพึ่งพาช่างก็อย่างน้อยได้มีข้อมูลคุยกับช่างได้  จะได้ไม่โดน  ฟัน  ให้บาดเจ็บ

cr:  http://www.infodozer.ru/tama-switch

 

About dhawin

เขียน เมื่ออยากเขียน คิด ในหลายครั้งก็ไม่ได้เขียน เขียน ทุกครั้งคิดเสมอ (เพราะ) คิด&(จึงอยาก)เขียน

Posted on 06/05/2015, in engin_machine and tagged , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , . Bookmark the permalink. 1 Comment.

  1. ร้านตั้งอย่ที่ไหน

    Like

ความเห็นเป็นตัวอักษร